เมนู

คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ 5 คือ รูปที่พึงรู้
แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วย
กามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต....กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ....รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา....โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุไร ? กามคุณ
5 พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์
โดยมากย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม
เป็นผู้หลงเสมอ ในกามคุณ 5 เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้
ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น
กามคุณ 5 พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง คำว่า หยั่งลงในที่
หลง
คือหยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง.

ว่าด้วยวิเวก 3 อย่าง



[33] คำว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า
วิเวก ได้แก่ วิเวก 3 อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนา-
สนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา ป้าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว
ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว

กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว
เที่ยวอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า
กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาณ มีจิตสงัดจากนิวรณ์.
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร. บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจาก
ปีติ, บรรลุจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์.
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา.
บรรลุวิญญานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา.
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน-
สัญญา.
เมื่อภิกษุนั้นเป็น โสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิ-
กิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่
ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น.
เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่
ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างหยาบเป็นต้นนั้น.
เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้ง
อยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น.

เป็นอรหันตบุคคล มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่
ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย
นอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน ? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า
อุปธิ. อมตนิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับ
สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก
เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนก-
ขัมมะจิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิต
ผ่องแผ้ว
อย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพาน
อันเป็นวิสังขาร.
คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ใน
ถ้ำอย่างนี้ อันกิเลสมาก ปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชน
นั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกล
แม้จากอุปธิวิเวก คือ อยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด
มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิด
นั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.

ว่าด้วยกาม 2 อย่าง



[34] คำว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละ
ได้โดยง่าย
มีความว่า คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม 2 อย่าง
คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1.
วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็น
ที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร
ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี
แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็น
อดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็น
ภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิด
ประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่
ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน
ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด
ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า
อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านั้น เรียกว่า วัตถุกาม.
กิเลสกามเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
ดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความ
ใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ ความใคร่ในกาม